ขั้นตอนการติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีกกับ ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์ค

ขั้นตอนการติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีก
กับ ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์ค

ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์คให้คำปรึกษา แนะนำ ออกแบบ และผลิตเหล็กฉีกสำหรับงานประเภทต่าง ๆ ไปจนถึงการติดตั้งให้พร้อมใช้งานอย่างครบวงจร

ขั้นตอนการติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีกกับ ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์ค

 

หลังจากที่ทำความรู้จักกับประเภทของตะแกรงเหล็กฉีก วัสดุที่ใช้ทำเหล็กฉีก และคุณสมบัติของตะแกรงเหล็กฉีกรุ่นต่าง ๆ กันแล้ว ในบทความนี้ ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์ค จะพาทุกท่านไปดูและรู้ขั้นตอนการนำเหล็กฉีกไปติดตั้ง ว่ามีรายละเอียดและวิธีการอย่างไรบ้าง

อย่างที่ทราบกันดีว่าตะแกรงเหล็กฉีกนั้นสามารถนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของงานต่าง ๆ ได้มากมายหลายแขนง แต่ในบทความนี้เราจะขอเจาะลึกเกี่ยวกับขั้นตอนในการติดตั้งเหล็กฉีกเข้ากับองค์ประกอบอื่น ๆ ในงานก่อสร้างเป็นหลัก เช่น การใช้ตะแกรงเหล็กฉีกในงานปูพื้นทางเดิน ทางรถวิ่ง ทำรั้ว ฉากบังตา การติดตั้งเพิ่มบริเวณราวบันไดเพื่อเป็นราวกันตก หรือนำไปทำเป็นหน้ากากให้กับตัวอาคารเพื่อเป็นการป้องกันนก ช่วยลดแสงที่ส่องมายังตัวอาคาร แต่ยังคงความสามารถในการระบายอากาศได้ดี เป็นต้น

รายละเอียดขั้นตอนการติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีกกับ ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์ค

1. การเตรียมตะแกรงเหล็กฉีกก่อนการติดตั้ง
ขั้นตอนแรกเมื่อคุณทราบว่าต้องการจะใช้ตะแกรงเหล็กฉีกสำหรับวัตถุประสงค์ใดแล้ว ก็จะต้องเริ่มต้นเลือกซื้อเลือกหาตะแกรงเหล็กฉีกสำหรับนำมาใช้งาน โดยมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาก่อนจะสั่งซื้อหรือสั่งผลิต ดังนี้

           1.1. เลือกรุ่นและลายของตะแกรงเหล็กฉีกที่เหมาะสมกับงาน แม้ว่าตะแกรงเหล็กฉีกนั้นจะถูกผลิตขึ้นด้วยการนำแผ่นเหล็กมาดึงหรือยืดออกให้เกิดเป็นลวดลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนตาข่ายหรือรังผึ้ง แต่ด้วยวัสดุที่ใช้ในการผลิตและขนาดความหนาของแผ่นเหล็กที่นำมาทำตะแกรง ตลอดจนขนาดรูที่แตกต่างกัน ก็ส่งผลให้เกิดความแตกต่างทั้งลวดลาย ขนาดช่องตา รวมถึงความสามารถในการรับน้ำหนักหรือแรงกดทับลงมาที่แผ่นตะแกรงก็ไม่เท่ากันด้วย

แต่ทั้งนี้การเลือกใช้ตะแกรงเหล็กฉีกให้เหมาะกับงานก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากมาก เพราะมีการกำหนดคุณสมบัติของแต่ละรุ่นอย่างเป็นมาตรฐาน ทำให้ผู้ใช้สามารถทราบว่าจะนำตะแกรงเหล็กฉีกรุ่นใดไปใช้ในงานที่ต้องการได้บ้าง ซึ่งคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ เจาะลึกคุณสมบัติของตะแกรงเหล็กฉีกรุ่นต่าง ๆ จาก ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์ค ซึ่งจะเผยเคล็ดลับในการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กฉีกที่มีคุณสมบัติแตกต่างอย่างเหมาะสมกับงานให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

           1.2. เตรียมการชุบ พ่น ทาสีที่ต้องการ ตะแกรงเหล็กฉีกที่ผ่านการผลิตมาส่วนใหญ่ก็จะเป็นสีเงิน เทา หรือดำ ขึ้นอยู่กับวัสดุในการผลิต แต่ผู้ใช้สามารถนำเหล็กฉีกเหล่านี้มาทำการเปลี่ยนสีได้ นอกจากจะได้ความสวยงามตามต้องการแล้ว ยังเป็นการช่วยลบความคมตามขอบของตะแกรงเหล็กฉีก รวมถึงเป็นการเคลือบกันสนิมไปในตัว โดยสามารถทำสีตะแกรงเหล็กฉีกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น

           • ทาสีหรือพ่นสีตะแกรงเหล็กฉีก สำหรับตะแกรงเหล็กฉีกรุ่นที่มีช่องตาค่อนข้างห่าง การทาสีก็เป็นอีกวิธีที่ทำได้ง่าย แต่หากเป็นเหล็กฉีกที่ตะแกรงมีช่องตาที่ถี่กว่า การสเปรย์พ่นสีก็จะเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็วขึ้น ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้จะเริ่มด้วยการลงสีรองพื้นกันสนิมก่อน 1 รอบ จากนั้นจึงลงสีเคลือบเงาหรือสีน้ำมันในเฉดสีที่ต้องการได้ด้วยการทาสีหรือพ่นสีอีก 2 รอบเพื่อให้สีชัด ติดทน

           • การอบสีฝุ่น สามารถทำได้กับเหล็กฉีกทุกรุ่น ทุกขนาด โดยตะแกรงเหล็กฉีกที่ผ่านการอบสีฝุ่นจะมีความเรียบ สวยงาม และสีที่ติดทนทำให้ยืดคุณภาพการใช้งานเหล็กฉีกให้ยาวนานขึ้น 5-10 ปีเลยทีเดียว

           • ตะแกรงเหล็กฉีกชุบกัลวาไนซ์ เป็นสารที่ช่วยป้องกันสนิมให้กับเหล็กฉีกได้ยาวนาน และยืดอายุการใช้งานได้กว่า 20 ปีเหมาะกับตะแกรงเหล็กฉีกที่ต้องใช้งานภายนอกอาคาร ทำให้ทนแดด ทนฝน หรือไอความเค็มจากทะเลได้ โดยหลังจากชุบกัลวาไนซ์จะทำให้ตะแกรงเหล็กฉีกเป็นสีเงิน ผู้ใช้สามารถทาหรือพ่นสีเคลือบเงาหรือสีน้ำมันในเฉดสีที่ต้องการใหม่เพิ่มเติมภายหลังได้


           1.3. การใส่กรอบให้กับขอบตะแกรงเหล็กฉีก เนื่องจากบริเวณขอบของตะแกรงเหล็กฉีกอาจมีบริเวณที่เป็นเหลี่ยมคม หากไม่มีการนำวัสดุมาปิดขอบให้กับตะแกรง โดยเฉพาะเมื่อติดตั้งในบริเวณที่มีผู้คนสัญจรผ่านไปมาหรือต้องใช้งานใกล้ๆ ขอบตะแกรง ก็อาจเกิดการขีดข่วนหรืออันตรายแก่ผู้อื่นได้

ดังนั้น จึงมักมีการนำเหล็กประเภทต่าง ๆ สำหรับใช้ทำกรอบ มาทำการปิดบริเวณขอบของตะแกรงเหล็กฉีกด้วย โดยเหล็กที่ใช้ก็มีหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น เหล็กฉาก เหล็กตัวซี เหล็กกล่อง เหล็กแบน ซึ่งมีขนาดความหนาให้เลือกใช้ตั้งแต่ 1.6 มิลลิเมตรไปจนถึง 6 มิลลิเมตร สำหรับใช้ยึดตะแกรงเหล็กฉีกรุ่นทั่วไปที่มีขนาดความหนาไม่มาก แต่หากต้องการใช้กับตะแกรงเหล็กฉีกที่มีความหนามากขึ้น ก็อาจเลือกใช้เป็นเหล็กท่อกลม หรือเหล็กเส้นกลม ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้การเชื่อมต่อทำกรอบได้ง่ายและแข็งแรงขึ้น

และเมื่อใส่กรอบแล้ว ก็จะช่วยให้เหล็กฉีกมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน อีกทั้งยังเป็นการเสริมความแข็งแรง และทำให้ตะแกรงเหล็กฉีกดูเรียบร้อยสวยงามได้มากขึ้นด้วย

 

2. ขั้นตอนการติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีก

           2.2. วางเหล็กฉีกบนวัสดุทำโครง โดยในการติดตั้งอาจมีการใช้เหล็กฉาก หรือเหล็กแบน เป็นตัวช่วยในการรองรับระหว่างจุดเชื่อมต่อของตะแกรงเหล็กฉีกแต่ละแผ่น ซึ่งเหล็กจะไปช่วยยึดโครงสร้างให้มีความแข็งแรงและปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้

           2.3. ตรวจสอบตำแหน่งการเรียงของลวดลาย ต้องไม่ลืมดูว่าการจัดวางลายของตะแกรงเหล็กฉีกก่อนติดตั้งและเชื่อม โดยลายของเหล็กฉีกแต่ละแผ่นก็จะต้องเป็นไปในทิศเดียวกันอย่างถูกต้อง มีความเรียบและตรงต่อเนื่องกันตลอดทั้งแผ่น

           2.4. การเชื่อมต่อตะแกรงเหล็กฉีก สุดท้ายก็คือติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีกในบริเวณที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการเชื่อมแปะ (Welding) ตะแกรงเหล็กเข้ากับพื้นที่หรือโครงสรางวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องการ

           2.5. การติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีกในจุดต่าง ๆ มีเทคนิคเสริมที่ทุกท่านควรทราบ เพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรง และทำให้การใช้งานตะแกรงเหล็กฉีกได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

           • ควรมีฐานรองที่ด้านปลายสุดของแผ่นตะแกรงเหล็กฉีก เมื่อวางเหล็กฉีกในบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะกรณีที่ใช้วางเป็นพื้นทางเดิน ควรให้ด้านริมสุดของตะแกรงเหล็กฉีกแผ่นสุดท้ายในแต่ละด้านนั้นวางอยู่บนโครงสร้างถาวรใด ๆ ก็ตาม เพื่อเป็นการเสริมฐานให้เกิดความคงทนแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

           • ในกรณีที่ต้องติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีกเข้ากับเหล็กที่เป็นโครงสร้างของอาคารหรือพื้นที่ใดก็ตาม ควรใช้วิธีการติดตั้งด้วยน็อตยึดเหล็กฉีกเข้ากับโครงสร้างนั้น ๆ แทนการเชื่อม เพื่อความปลอดภัยและใช้งานได้ในระยะยาว

- สำหรับการติดตั้งเหล็กฉีกเป็นงานพื้นหรือทางเดิน ก็อาจจะเจอกับวัสดุหรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำหรือเสาเสริม ฯลฯ ที่ไม่สามารถย้ายหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านี้ได้ แต่คุณสมบัติหนึ่งของตะแกรงเหล็กฉีกที่มีความพิเศษก็คือมีความโค้งงอ ดังนั้น ผู้ใช้งานสามารถตัดและแต่งให้เหล็กฉีกเกิดความโค้งงอ ตามรูปแบบของท่อหรือเสานั้น ๆ โดยสามารถใช้เหล็กแบนหรือเหล็กอื่น ๆ ตามที่แนะนำข้างต้นมาเป็นตัวเสริมในการปิดขอบของตะแกรงเหล็กฉีกในส่วนที่เป็นขอบทางเดินติดกับท่อ เพื่อทำให้เกิดความเรียบร้อยและสวยงามมากยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

3. การเก็บงานและตรวจสอบความเรียบร้อยของตะแกรงเหล็กฉีกหลังการติดตั้ง
หลังจากเชื่อมตะแกรงเหล็กฉีกเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ การเก็บงานและตรวจสอบความเรียบร้อย ด้วยการใช้ค้อนเคาะหรือใช้แปรงขัดเหล็กให้เศษส่วนเกินจากการเชื่อมหลุด รวมถึงอาจมีการแต้มทาสีบริเวณจุดเชื่อม เพื่อปิดรอยจากการเชื่อมให้เรียบเนียนและสวยงาม พร้อมปิดงานการติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีกได้เลย

และทั้งหมดนี้คือขั้นตอนในการเตรียมการเลือกใช้และติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีก แต่การนำไปใช้ให้เหมาะกับงานอย่างสวยงาม และคงทน คุ้มค่านั้น ยังมีรายละเอียปลีกย่อยอีกมาก โดยที่ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์คก็พร้อมจะช่วยเหลือและให้บริการด้านตะแกรงเหล็กฉีกให้คุณในทุกขั้นตอนทั้งหมดนี้ ตั้งแต่ให้คำปรึกษา แนะนำ ออกแบบ และผลิตเหล็กฉีกสำหรับงานประเภทต่าง ๆ ไปจนถึงการติดตั้งให้พร้อมใช้งานอย่างครบวงจร เพื่อช่วยลดภาระในการเตรียมการและใช้งานตะแกรงเหล็กฉีกให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับคุณ

ดูตัวอย่างผลงานการติดตั้งตะแกรงเหล็กฉีก หรือดูข้อมูลเกี่ยวกับเหล็กฉีกเพิ่มเติม
ตลอดจนช่องทางติดต่อเรา ได้ที่เว็บไซต์ www.yc-mw.com

 *** รับปรึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ***

ADD LINE ได้เลย !!!

 

    

      064-958-0044 (แบงค์)

   

    092-636-2561 (เจน)

 

โทรศัพท์ : 02-577-7061 , 02-577-7063 (ออฟฟิศ)

 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ยัวร์ คอนเนค เมทัล เวิร์ค จำกัด
Tel: 02-577-7061, 02-577-7063 (ออฟฟิศ)
Email: ycmw.asia@gmail.com
Website: https://www.yc-mw.com

Visitors: 886,205